พฤติกรรมต้นทุนและการวางแผนกำไร

          การวิเคราะห์พฤติกรรมต้นทุนเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ การวิเคราะต้นทุนจะทำให้ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิต ซึ่งรวมไปถึงการจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากวิเคราะห์พฤติกรรมต้นทุนแล้วผู้บริหารควรจะวางแผนกำไร เพื่อที่จะได้ทรายปริมาณขายที่จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุน

Break even

            ต้นทุนสามารถแบ่งตามเกณฑ์พฤติกรรมออกได้ดังต่อไปนี้

1.ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เป็นพฤติกรรมต้นทุนที่จะคงที่และไม่เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนกิจกรรม เมื่อกิจการขายผลิตภัณฑ์ในจำนวนมากขึ้น ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเบี้ยประกัน ฯลฯ

2.ต้นทุนแปรผัน (Variable cost) เป็นพฤติกรรมของต้นทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนกิจกรรมของกิจการ โดยภาพรวมต้นทุนแปรผันต่อหน่วยจะคงที่ตลอด ในขณะต้นทุนแปรผันรวมจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนกิจกรรม เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ฯลฯ

3.ต้นทุนผสม (Mixed cost) เป็นพฤติกรรมต้นทุนมีลักษณะของต้นทุนคงที่ผสมกับต้นทุนแปรผัน ต้นทุนผสมรวมจะมีจำนวนคงที่ในช่วงจำนวนกิจกรรมจำนวนหนึ่ง และต้นทุนอีกส่วนหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนกิจกรรม เช่น ค่าเช่าเครื่องจักร โดย ใช้ ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อเดือน จะคิด 75,000 บาทต่อเดือน ส่วนที่เกินจะคิดชั่วโมงละ 100 บาท

 

ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ปริมาณ และกำไร

          กำไรส่วนเกิน (Contribution margin) เป็นผลต่างของรายได้กับต้นทุนแปรผัน กำไรส่วนเกินต่อหน่วย (unit contribution margin) จะเป็นการคำนวณกำไรส่วนเกินต่อหน่วย หาได้จาก กำไรส่วนเกิน หารด้วย จำนวนหน่วย

          อัตรากำไรส่วนเกิน (ratio contribution margin) เป็นอัตราส่วนระหว่างกำไรส่วนเกินหารด้วยยอดขาย

          กำไรจากการดำเนินงาน (Income form Operations) หาได้จากกำไรส่วนเกิน หักด้วยต้นทุนคงที่

การคำนวณหาจุดคุ้มทุน

          จำนวนหน่วย ณ จุดคุ้มทุน หาได้จาก ต้นทุนคงที่ หารด้วย กำไรส่วนเกินต่อหน่วย จุดคุ้มทุนกิจการจะมีรายได้จากการดำเนินเป็น 0 เสมอ

ตัวอย่างการคำนวณ

กิจการขายสินค้าที่ราคา 10 บาท จำนวน 1,000 หน่วย โดยมีต้นทุนแปรผันต่อหน่วยที่ 5 บาท และมีต้นทุนคงที่รวม 3,000 บาท ให้รายได้จากการดำเนินงานและหาจุดคุ้มทุน

          รายได้                                                           10,000

          หัก ต้นทุนแปรผัน                                              5,000

          กำไรส่วนเกิน                                                    5,000

          หัก ต้นทุนคงที่                                                  3,000                                             

         กำไรจากการดำเนินงาน                                       2,000

 กำไรส่วนเกินต่อหน่วย        10 – 5 = 5 บาท

จำนวนหน่วย ณ จุดคุ้มทุน =  3,000/5

                                      = 600 หน่วย