Time Value of Money
คือการหามูลค่าของเงิน เนื่องจากเงินในแต่ละช่วงเวลาจะมีมูลค่าที่แตกต่างกัน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดสำคัญสำหรับการเงินธุรกิจ (Corporate Finance) สามารถใช้ตัดสินใจในการเลือกลงทุนในโครงการต่างๆ รวมถึงประเมินมูลค่าตราสารหนี้ หุ้นสามัญ รวมถึงตราสารทางการเงินอื่นๆ
แนวคิดพื้นฐานคือ เงิน 1 บาท ในปัจจุบันจะมีมูลค่ามากกว่าเงิน 1 บาทในอีกหนึ่งปีนับจากนี้ เนื่องจากเงิน 1 บาทในปัจจุบันสามารถนำเงินดังกล่าวไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนได้
มูลค่าเงินในอนาคต (Future Value) คือจำนวนเงินที่จะได้ในอนาคตในช่วงเวลาหนึ่ง โดยได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
มูลค่าเงินในปัจจุบัน (Present Value) คือมูลค่าเงินในปัจจุบัน ซึ่งเงินดังกล่าวสามารถนำไปลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนได้
การคำนวณหามูลค่าเงินในอนาคต
สมมติว่านายบันเทิง ได้นำเงินจำนวน 1000 บาท ไปฝากธนาคารซึ่งได้ดอกเบี้ยพิเศษร้อยละ 3 ต่อปี ถ้าฝากเงิน 1 ปี จำนวนเงินในบัญชีจะมี
FV = เงิน(1+อัตราดอกเบี้ย)จำนวนงวด
= 1000(1+0.03)1
= 1030 บาท
แต่ถ้าหากธนาคารจากดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ซึ่งดอกเบี้ยต่อครั้งคือ 1.5% ต่องวด จะสามารถคำนวณได้ว่า
FV = เงิน(1+อัตราดอกเบี้ย)จำนวนงวด
= 1000(1+0.015)2
= 1030.23 บาท
สามารถเขียนแจกแจงได้ดังนี้
ต้นงวด | 6 เดือน | หลังจากครบ 1 ปี |
เงินต้น 1000 | เงินต้น 1000 | เงินต้น 1000 |
ดอกเบี้ย 15 | ดอกเบี้ย 15 | |
ดอกเบี้ย 15.23 |
แต่ถ้าหากธนาคารจากดอกเบี้ยปีละ 3ครั้ง ซึ่งดอกเบี้ยต่อครั้งคือ 1% ต่องวด จะสามารถคำนวณได้ว่า
FV = เงิน(1+อัตราดอกเบี้ย)จำนวนงวด
= 1,000(1+0.01)3
= 1,030.30 บาท
จะสังเกตได้ว่าหากมีการจ่ายดอกเบี้ยทบต้น (Compound interest) จะทำให้มูลค่าเงินในอนาคตมีค่ามากกว่ามูลค่าเงินในอนาคตที่ไม่มีการทบต้น โดยดอกเบี้ยทบต้นจะได้ดอกเบี้ยจากเงินต้นและดอกเบี้ยที่ทบจากดอกเบี้ยของงวดก่อนที่ได้รับ
การคำนวณหามูลค่าปัจจุบัน
สมมติว่านายบันเทิง จะได้รับเงินจากการลงทุน ในอีก 5 ปี ข้างหน้าจำนวน 110,408 บาทโดยจะได้ผลตอบแทนคงที่ร้อยละ 2 ต่อ ปี หาเงินต้นของนายบันเทิง
PV = FV(1+อัตราดอกเบี้ย)–จำนวนงวด
= 110,408(1+0.02)-5
= 100,000 บาท
เนื่องจากการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนในจำนวนงวดต่อปีที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกันได้ต่อเมื่อปรับอัตราผลตอบแทนที่ได้รับ เป็นอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Annual Interest Rate) เพื่อเป็นการปรับระยะเวลาในแต่ละงวดเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้เหมาะสมกับการเปรียบเทียบ
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = (1 + อัตราผลตอบแทน/จำนวนงวดใน 1 ปี )จำนวนงวด
เงินงวด(Annuities) คือกลุ่มของกระแสเงินสดที่ได้เท่าๆ กันในแต่ละงวด โดยแต่ละงวดมีระยะเวลาที่เท่ากัน เงินงวดชนิด Ordinary annuity คือเงินงวดที่เกิด ณ แต่ละสิ้นงวด ในขณะที่ Annuity Due คือเงินงวดที่ได้รับเมื่อต้นงวด
เงินงวด Ordinary annuity สามารถคำนวณบนโปรแกรม Spreadsheet ได้โดยใช้สูตร PVIF สำหรับการคำนวณมูลค่าปัจจุบัน และ FVIF สำหรับการคำนวณหามูลค่าเงินในอนาคตของเงินงวด
เงินงวด Annuity Due สามารถคำนวณบนโปรแกรม Spreadsheet ได้โดยใช้สูตร PVIFA สำหรับการคำนวณมูลค่าปัจจุบัน และ FVIFA สำหรับการคำนวณหามูลค่าเงินในอนาคตของเงินงวด