การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (finance ratio) เป็นการวิเคราะห์สภาพของกิจการในด้านการบริหารสินทรัพย์ การบริหารหนี้สิน การทำกำไรของธุรกิจ สำหรับอัตราส่วนทางการเงินใช้สำหรับการวิเคราะห์กิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกิจการขนาดใหญ่ได้
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1ปี เช่น เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ฯลฯ
เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ)/หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)
หรือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ – ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า)/หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)
อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio) = (เงินสด + เงินลงทุนระยะสั้น) / หนี้สินหมุนเวียน (เท่า)
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) ยิ่งมีค่ามากแสดงถึงกิจการมีความสามารถสูงในการจ่ายหนี้ระยะสั้น การวัดสภาพคล่องเป็นสิ่งสำคัญ เพราะธุรกิจที่ไม่มีสภาพคล่องก็อาจจะล้มละลายหรือมีปัญหาทางการเงินได้ ในการดูสภาพคล่องของกิจการควรใช้ Quick Ratio สูตรที่ 2 เนื่องจาก สินค้าคงเหลือ และ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า บางครั้งยากต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสด
อัตราส่วนวัดการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Ratio) วัดความสามารถในการจัดการสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร
อัตราการหมุนของสินค้า (Inventory Ratio) = สินค้าคงเหลือ/ต้นทุนขายต่อวัน (เท่า)
เวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (Day Sales Outstanding) = ลูกหนี้การค้า/ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน (วัน)
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover) = ขาย/สินทรัพย์ถาวร (เท่า)
อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม (Total Asset Turnover) = ขาย/สินทรัพย์รวม (เท่า)
ในบางตำรารายการที่มาจากต่างงบจำต้องใช้รายการที่ถัวเฉลี่ย เช่น Total Asset Turnover ในบางตำราจะใช้ สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย
อัตราส่วนวัดสภาพหนี้ (Debt Management Ratio) วัดความเสี่ยงของกิจการจากการระดมทุนจากหนี้สิน
อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) = หนี้สิน /สินทรัพย์ × 100 (%)
อัตราส่วนการจ่ายดอกเบี้ย (Time Interest Earned) = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีจ่าย/ดอกเบี้ยจ่าย (เท่า)
กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีจ่าย คือ EBIT (Earnings Before Interest & Tax) หรือบางครั้งสามารถเรียก EBIT ว่า กำไรจากการดำเนินงาน
อัตราส่วนวัดสภาพหนี้ (Debt Management Ratio) ยิ่งมีค่ามากจะแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio) วัดความสามารถของฝ่ายจัดการในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้และกำไรในการดำเนินกิจการ
อัตรากำไรขั้นต้น (Operating Margin) = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีจ่าย/ขาย × 100 (%)
อัตรากำสุทธิ (Operating Margin) = กำไรสุทธิ/ขาย × 100 (%)
กำไรจากการดำเนินงานขั้นพื้นฐาน (Basic earning power) = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีจ่าย/สินทรัพย์ × 100 (% )
ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return On Asset) = กำไรสุทธิ/สินทรัพย์ × 100 (%)
ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ (Return On Common stockholders equity) = กำไรสุทธิ/หุ้นสามัญ × 100 (%)
ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity) = กำไรสุทธิ/ส่วนของผู้ถือหุ้น × 100 (%)
Return On Equity สามารถแสดงที่มาตามสมการ DuPont ได้ดังนี้
Net Profit Margin × Total Asset Turnover × Equity Multiplier
Equity Multiplier คือ Total Asset/Total Equity เป็นการวัดความเสี่ยงจากการระดมทุนจากหนี้สินยิ่งมีค่า Equity Multiplier สูง แสดงถึงความเสี่ยงที่มากขึ้น ความเสี่ยงที่มาขึ้นแสดงถึงผลตอบแทนที่คาดหวังจะสูงขึ้นตามไปด้วย
คำแนะนำ เนื้อหาในบทความนี้บางส่วนแปลมาจากหนังสือ การเงินธุรกิจภาษาอังกฤษ จากหลายแหล่ง ซึ่งอาจจะแตกต่างกับอัตราส่วนทางการเงินที่เป็นหนังสือภาษาไทย ซึ่งผู้เรียบเรียงได้รวบรวมเนื้อหาเฉพาะที่สำคัญ เนื้อหาสูตรการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินอาจจะแตกต่างไป ตามแต่ละผู้เขียนต้นฉบับนั้น