ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product) หรือที่ทุกท่านคุ้นหูกันดีกว่า GDP คือมูลค่ารวมของราคาสินค้าและบริการในขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ในรอบระยะเวลา 1 ปี
ก่อนอื่นเลย ท่านผู้อ่านต้องเข้าใจคำว่า สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย(final product) นั้นคือ สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อไปใช้หรือบริโภคเอง ไม่ได้ซื้อไปผลิตหรือนำไปปรับปรุงเพื่อจำหน่าย ในขณะที่สินค้าที่มีการซื้อขายระหว่างผู้ผลิต จะเรียกว่าสินค้าขั้นกลาง (intermediate product)
การวัดผลิตภัณฑ์ในประเทศ สามารถวัดได้ 2 ทางคือ การวัด GDP ทางด้านค่าใช้จ่าย และการวัด GDP ทางด้านรายจ่าย
การวัด GDP ทางด้านค่าใช้จ่าย จัดวัดการใช้จ่ายรวมของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ หน่วยรัฐบาล หน่วยต่างประเทศไทย นั้นจึงเป็นที่มาของสมการ GDP ที่เป็นได้รู้จักคือ
GDP = C + I + G + (X – M)
C คือการใช้จ่ายการบริโภค
I คือรายจ่ายการลงทุนภาคเอกชน
G คือการใช่จ่ายภาครัฐ
X คือมูลค่าการส่งออก
M คือมูลค่าการนำเข้า
การวัด GDP ด้านรายได้ เป็นการวัดรายได้ที่เกิดขึ้นจากการผลิตในรอบปีนั้นๆ โดยจะมีการวัดในแต่ละเจ้าของปัจจัยการผลิต ลูกจ้าง เจ้าของที่ดิน เจ้าของเงินทุน ผู้ประกอบการ หรือสามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า
GDP = ผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต + ภาษีทางอ้อมที่หักเงินอุดหนุน + ค่าเสื่อมราคา
ในบางครั้งสามารถกล่าวได้ว่าผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต คือ รายได้ประชาชาติ นั่นเอง